เมนู

13. อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม
ทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย
14. อกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากต-
ธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย
15. อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยา-
กตธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย
16. อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่กุศล-
ธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย
17. อัพยากตธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศล-
ธรรมทั้งหลายที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย
18. ธรรมทั้งหลายเหล่าใด ๆ คือ จิตและเจตสิก เกิด
ขึ้นในลำดับแห่งธรรมทั้งหลายเหล่าใด ๆ ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ๆ
เป็นปัจจัยแก่ธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ๆ ด้วยอำนาจของสมนันตร-
ปัจจัย.


วรรณนานิทเทสแห่งสมนันตรปัจจัย


นิทเทสแห่งสมนันตรปัจจัย เหมือนกับอนันตรปัจจัยนี้เอง. ก็
ปัจจัยทั้งสองนี้กว้างขวางมาก เพราะฉะนั้น พึงกำหนดถือเอาความพิสดาร
แห่งปัจจัยทั้งสองนั้น ด้วยอำนาจการเกิดขึ้นของจิตทั้งหมด.
วรรณนานิทเทสแห่งสมนันตรปัจจัย จบ

[7]

สหชาตปัจจัย

ธรรมที่ช่วยอุปการะโดยความเกิดพร้อม
กัน กล่าวคือ
1. นามขันธ์ 4 เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของ
สหชาตปัจจัย
2. มหาภูตรูป 4 เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจของ
สหชาตปัจจัย
3. ในปฏิสนธิขณะ นามและรูปเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน ด้วย
อำนาจของสหชาต ปัจจัย
4. จิตและเจตสิกธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่รูปทั้งหลายที่มี
จิตเป็นสมุฏฐาน ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย
5. มหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจ
ของสหชาตปัจจัย
6. รูปธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่อรูปธรรมทั้งหลายในกาล
บางครั้ง ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย
7. รูปธรรมทั้งหลาย ไม่เป็นปัจจัยแก่อรูปธรรมทั้งหลายใน
กาลบางครั้ง ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย.


วรรณนานิทเทสแห่งสหชาตปัจจัย


ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยใน สหชาตปัจจัยนิทเทส ต่อไป.
บทว่า อญฺญมญฺญํ แปลว่า ซึ่งกันและกัน. ด้วยบทนี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นปัจจัยและปัจจยุบบัน
ในขณะเดียวกัน. บทว่า โอกฺกนฺติกฺขเณ คือ ในขณะปฏิสนธิในปัญจ-